วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
บริษัท Subcontract
Outsourcing หรือ Subcontract ที่หลาย ๆ คนพอจะคุ้นเคย ซึ่ง Subcontract สรุปง่าย ๆ ก็คือการที่บริษัทหรือโรงงานให้บริษัทอื่นจัดหาพนักงานมาทำงานให้บริษัทของตนเอง ที่พบเห็นก็เช่น พนักงานฝ่ายผลิตตามโรงงานทั่ว ๆ ไป
ทำไมโรงงานหรือบริษัทนายจ้างถึงเลือกใช้วิธีการจ้างงานแบบนี้ มีเหตุผลหลายอย่าง ซึ่งพอจะแจกแจงได้ ดังนี้
- ลักษณะงานที่จะให้ทำอาจมีระยะเวลาไม่นานหรือไม่แน่นอน เช่นต้องการฝ่ายผลิตมาทำงาน 1 ปี ซึ่งมียอดผลิตที่แน่นอน แต่หลังจากนั้นยังไม่รู้ว่าจะมีออร์เดอร์ หรือเปล่า อาจต้องมีการปลดพนักงานบางส่วนถ้าออร์เดอร์น้อย อาจต้องจ่ายเงินค่าชดเชยการเลิกจ้าง แต่ก็คงไม่มากเท่ากับเลิกจ้างพนักงานประจำ ที่สำคัญการเลิกจ้างซับ จะง่ายกว่าการเลิกจ้างพนักงานประจำ
- ถ้าใช้ Subcontract ฝ่ายบุคคลของของโรงงานหรือบริษัทไม่ต้องมายุ่งยากกับการสรรหาคน ไม่ต้องมาคิดเงินเดือน ไม่ต้องมาดูแล ทุกสิ่งเหล่านี้บริษัทซับคอนแทร็คส์จัดการทั้งหมด นอกจากนี้บริษัทสามารถที่จะให้บริษัทซับ ฯรับประกันว่าจะสามารถหาคนให้ในจำนวนที่ต้องการได้อย่างแน่นอน และที่แน่ ๆ สามารถใช้บริษัทซับได้ไม่จำกัด ใครสามรถหาคนให้ได้ ก็ใช้บริการซับนั้นแหล่ะ
- มีคนมารับอาสาจัดสรรสวัสดิการให้พนักงานแทน ประหยัดต้นทุนบริษัทได้อีกเยอะเลย เช่น บริการรถรับส่ง เงินสมทบประกันสังคม สวัสดิการวันลา วันหยุด ลาป่วย ลาคลอด
ในปัจจุบันการใช้บริการบริษัทซับ ฯ จะเห็นได้มากในนิคมอุตสาหกรรม ที่มีโรงงานที่ต้องการแรงงานในฝ่ายผลิตเยอะ ๆ
แล้วบริษัทซับ ฯ มีรายได้จากการให้บริการจัดหาพนักงานมาจากไหน ? สำหรับเรื่องรายได้ บริษัทซับจะเบิกเงินจากบริษัทที่ใช้บริการ โดยเบิกมา 2 ส่วน คือ
1. ค่าแรงและค่าล่วงเวลาที่จะต้องจ่ายให้พนักงาน รวมทั้งสวัสดิการอื่นที่เป็นตัวเงินที่เซ็นต์สัญญากับพนักงานก่อนเริ่มงาน เช่น ค่าอาหาร ค่ากะ ค่าเดินทาง เงินในส่วนนี้บริษัทซับ ฯ จะจ่ายให้พนักงานทั้งหมด
2. ค่าบริการในการจัดหาคน ซึ่งเป็นรายได้โดยตรงของบริษัทซับ ฯ อาจได้รับเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าแรงพนักงาน เช่น ค่าบริการ 30 % ของค่าแรงพนักงาน
ยกตัวอย่าง ถ้าจัดหาพนักงานค่าแรงวันละ 200 บาท จำนวน 10 คน ทำงานทั้งหมด 10 วัน ดังนั้นค่าแรงที่ต้องเบิกมาจ่ายให้พนักงาน = 200x10x10 = 20,000 บาท ซึ่งบริษัทซับ ฯ จะได้ค่าบริการ (30 %) = 6,000 บาท
ดังนั้นบริษัทซับ ฯ จะต้องเบิกเงินจากบริษัท = 20,000 (ค่าแรงพนักงาน) + 6,000 (ค่าบริการ) = 26,000 บาท
หรือค่าบริการอาจคิดเป็นค่าหัวต่อคนต่อวัน เช่น ค่าบริการ 40 บาท/คน/วัน หมายความว่า ถ้าบริษัทซับ ฯจัดหาคน 1 คน จำนวน 1 วัน บริษัทซับ ฯ จะได้ค่าบริการ 40 บาท ดังนั้นจากตัวอย่างข้างต้น บริษัทซับ ฯ จัดหาพนักงานทั้งหมด 10 คนเป็นเวลา 10 วัน จะได้ค่าบริการ = 40x10x10 = 4,000 บาท
ดังนั้นบริษัทซับ ฯ จะต้องเบิกเงินจากบริษัท = 20,000(ค่าแรงพนักงาน) + 4,000(ค่าบริการ) = 24,000 บาท
เงินค่าบริการที่บริษัทซับ ฯ ได้มานั้น จะต้องแบ่งจ่ายเป็นเงินสมทบเข้าประกันสังคม จ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทน ค่าภาษีเงินได้ ที่เหลือจึงจะเป็นรายได้ของบริษัทซับ ฯ
คงพอจะเข้าใจขึ้นมาบ้างนะครับ ว่าถ้าเราทำงานผ่านบริษัทซับ ฯ จะไม่โดนหักค่าหัวคิวสักบาท ถ้ามาหักจากเรานั่นแสดงว่าบริษัทซับ ฯ ทำผิดกฎหมายครับ
อ่านแล้วสงสัย แสดงความคิดเห็นได้ครับ ติดตามในหัวข้อใหม่ในโอกาสต่อ ๆ ไป ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
บริษัทจัดหางานจะหักค่าหัวคิวจากเราหรือเปล่า
ผมได้รับแรงบันดาลใจที่จะเขียนบทความนี้จากการได้อ่านเว็บบอร์ดหนึ่งที่เข้าใจไม่ค่อยจะถูกต้องสักเท่าไหร่เกี่ยวกับบริษัทจัดหางาน ในประเด็นคำถามเหล่านี้ ได้แก่
- ถ้าเราไปสมัครงานกับบริษัทจัดหางาน จะต้องจ่ายเงินค่าสมัครงานหรือไม่ ?
- ถ้าเราได้งานกับบริษัทที่เขาเสนอมา เขาจะหักค่าบริการจากเงินเดือนเราหรือเปล่า ?
- บริษัทจัดหางานเขามีรายได้จากไหน ?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าลักษณะการจัดหางานมี 2 รูปแบบ คือ
1. การสรรหาเพื่อไปเป็นพนักงานของบริษัทลูกค้า เรียกว่า “ Recruit ” และ
2. ในลักษณะเป็นพนักงานของบริษัทจัดหางานแต่ไปทำงานให้บริษัทลูกค้า เรียกว่า “ Out Source ” หรือ “ Subcontract ” ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคย
การสรรหาในลักษณะ Recruit เมื่อบริษัทจัดหางานสามารถทำการสรรหาพนักงาน ( Candidate ) มาให้บริษัทลูกค้าได้แล้ว บริษัทจัดหางานจะได้รับค่าจ้างที่เรียกว่า “Service Charge” โดยส่วนใหญ่คิดจากเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งปีของ Candidate ที่จะได้รับ เช่น เซ็นต์สัญญากันว่า Service Charge เท่ากับ 10 % ของรายได้ทั้งปีของ Candidate
ยกตัวอย่าง ถ้า Candidate ได้เงินเดือน ๆ ละ 10,000 บาท ดังนั้นเงินเดือนทั้งปีของ Candidate จึงเท่ากับ 10,000 x 12 = 120,000 บาท เพราะฉะนั้น Service Charge (10 %) = 12,000 บาท หมายความว่า บริษัทจัดหางานจะมีรายได้ในครั้งนี้เท่ากับ 12,000 บาท
จะเห็นได้ว่า ถ้า Candidate ยิ่งเงินเดือนสูง นั่นหมายถึงรายได้ของบริษัทจัดหางานยิ่งสูงด้วย จึงไม่แปลกเลยที่บริษัทจัดหางานจะช่วย Candidate ต่อรองเงินเดือนให้ได้สูงที่สุดเท่าที่บริษัทลูกค้าจะจ่ายได้
แล้วการสรรหาในลักษณะ Out Source หรือ Subcontract ล่ะบริษัทจัดหางานจะมีรายได้อย่างไร และเราจะโดนบริษัทจัดหางานหักค่าหัวคิวหรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
คุณรู้จัก " บริษัทจัดหางาน" มากน้อยแค่ไหน
คำว่า “ บริษัทจัดหางาน ” หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จัก แต่คนหางานอีกหลาย ๆ ท่าน อาจคุ้นเคยกับชื่อนี้บ้าง โดยเฉพาะคนที่ฝากประวัติไว้กับเว็บไซต์รับฝากประวัติต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น Jobthai, JobDB, JobBKK, Jobpassport และเว็บไซต์อื่น ๆ อีกหลายเว็บไซต์
ตัวผมเองในฐานะที่ทำงานอยู่ในวงการจัดหางานมานาน จึงอยากนำเสนอความรู้เกี่ยวกับบริษัทจัดหางานให้คนหางานได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
บริษัทจัดหางาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “ Recruitment Company ” ซึ่งในวงการจัดหางานบ้านเราก็มีมากมายหลายบริษัท โดยเราจะทำหน้าที่สรรหาพนักงานให้กับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าบริษัทลูกค้า และพนักงานที่เราสรรหามานั้นเรียกว่า แคนดิเดต (Candidate)
โดยบริษัทจัดหางาน จะเสาะแสวงหาแคนดิเดตจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทลูกค้ากำหนดมา โดยในเบื้องต้นจะดูจากประวัติย่อ หรือที่เรียกว่า Resume ที่ฝากไว้ตามเว็บไซต์รับฝากประวัติดังที่กล่าวมาแล้ว โดยพิจารณาจากหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งประวัติส่วนตัว การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน
เมื่อคิดว่าเจอแคนดิเดตที่ใช่แล้ว จากนั้นจึงลงมือกดโทรศัพท์เพื่อเสนองาน เมื่อพูดคุยรายละเอียดงานและเสนองาน ถ้าแคนดิเดตคนนั้นสนใจในเนื้อหางานที่ตรงกับความต้องการของตนเอง รวมทั้งข้อเสนอเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการที่ตนจะได้รับ จากนั้นขั้นตอนต่อมาจึงเป็นการเชิญแคนดิเดตเข้ามาสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ ณ สำนักงานของบริษัทจัดหางาน เพื่อคุยในรายละเอียดที่มากขึ้น ทั้งประสบการณ์ของแคนดิเดต รายละเอียดงานที่จะเสนอ รวมทั้งรายได้และสวัสดิการที่แคนดิเดตจะได้รับ และที่สำคัญเพื่อดูบุคลิกของแคนดิเดตด้วย บริษัทจัดหางานหลาย ๆ แห่งจะถือโอกาสนี้ทำการทดสอบภาษาอังกฤษ หรือทดสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าแคนดิเดตมีศักยภาพเหมาะสมกับตำแหน่งงานของบริษัทลูกค้า
จากนั้นจึงสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับแคนดิเดตที่คิดว่ามีศักยภาพแล้วส่งให้บริษัทลูกค้าพิจารณา ถ้าบริษัทลูกค้าสนใจที่จะสัมภาษณ์แคนดิเดตคนนั้น บริษัทจัดหางานจึงนัดหมายแคนดิเดตเพื่อเข้าสัมภาษณ์กับบริษัทลูกค้า ณ สำนักงานของบริษัทลูกค้าเพื่อพูดคุยงาน ถ้าหากบริษัทลูกค้าสนใจอยากให้แคนดิเดตคนนั้นมาร่วมงาน และแคนดิเดตก็สนใจร่วมงานด้วย การต่อรองเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการจึงเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่บริษัทจัดหางานจะช่วยแคนดิเดตต่อรองเงินเดือนด้วย ต่อจากนั้นการเซ็นต์สัญญาและนัดหมายวันเริ่มงานจะเป็นขั้นตอนต่อมาครับ ซึ่งสถานะภาพการจ้างงานระหว่างบริษัทลูกค้ากับแคนดิเดตก็มีทั้งเป็นพนักงานประจำของบริษัทลูกค้าโดยตรงหรือเป็นพนักงานสัญญาจ้าง (Subcontract) ซึ่งจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในสัญญาจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เป็นอย่างไรบ้างครับ บทความนี้พอจะทำให้มองเห็นการทำงานของบริษัทจัดหางานบ้างแล้ว ถ้าหากท่านได้รับโทรศัพท์เสนองานท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามได้ว่างานที่จะให้ทำเป็นอย่างไร Scope งานมากน้อยแค่ไหน ทำงานที่ไหน สัญญาจ้างเป็นพนักงานหรือเป็น Subcontract ที่สำคัญเรื่องรายได้และสวัสดิการ ถามได้ครับ แต่ต้องถามให้เป็น จะเขียนประวัติอย่างไรจึงมีคนโทรเสนองาน จะนำเสอในโอกาสต่อไป ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
บริษัทจัดหางานมีรายได้มาจากไหน
ผมได้รับแรงบันดาลใจที่จะเขียนบทความนี้จากการได้อ่านเว็บบอร์ดหนึ่งที่เข้าใจไม่ค่อยจะถูกต้องสักเท่าไหร่เกี่ยวกับบริษัทจัดหางาน ในประเด็นคำถามเหล่านี้ ได้แก่
- ถ้าเราไปสมัครงานกับบริษัทจัดหางาน จะต้องจ่ายเงินค่าสมัครงานหรือไม่ ?
- ถ้าเราได้งานกับบริษัทที่เขาเสนอมา เขาจะหักค่าบริการจากเงินเดือนเราหรือเปล่า ?
- บริษัทจัดหางานเขามีรายได้จากไหน ?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าลักษณะการจัดหางานมี 2 รูปแบบ คือ
1. การสรรหาเพื่อไปเป็นพนักงานของบริษัทลูกค้า เรียกว่า “ Recruit ” และ
2. ในลักษณะเป็นพนักงานของบริษัทจัดหางานแต่ไปทำงานให้บริษัทลูกค้า เรียกว่า “ Out Source ” หรือ “ Subcontract ” ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคย
การสรรหาในลักษณะ Recruit เมื่อบริษัทจัดหางานสามารถทำการสรรหาพนักงาน ( Candidate ) มาให้บริษัทลูกค้าได้แล้ว บริษัทจัดหางานจะได้รับค่าจ้างที่เรียกว่า “Service Charge” โดยส่วนใหญ่คิดจากเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งปีของ Candidate ที่จะได้รับ เช่น เซ็นต์สัญญากันว่า Service Charge เท่ากับ 10 % ของรายได้ทั้งปีของ Candidate
ยกตัวอย่าง ถ้า Candidate ได้เงินเดือน ๆ ละ 10,000 บาท ดังนั้นเงินเดือนทั้งปีของ Candidate จึงเท่ากับ 10,000 x 12 = 120,000 บาท เพราะฉะนั้น Service Charge (10 %) = 12,000 บาท หมายความว่า บริษัทจัดหางานจะมีรายได้ในครั้งนี้เท่ากับ 12,000 บาท
จะเห็นได้ว่า ถ้า Candidate ยิ่งเงินเดือนสูง นั่นหมายถึงรายได้ของบริษัทจัดหางานยิ่งสูงด้วย จึงไม่แปลกเลยที่บริษัทจัดหางานจะช่วย Candidate ต่อรองเงินเดือนให้ได้สูงที่สุดเท่าที่บริษัทลูกค้าจะจ่ายได้
แล้วการสรรหาในลักษณะ Out Source หรือ Subcontract ล่ะบริษัทจัดหางานจะมีรายได้อย่างไร และเราจะโดนบริษัทจัดหางานหักค่าหัวคิวหรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
ป้ายกำกับ:
บริษัทจัดหางาน recruitment,
candidate,
out sourcing,
service charge
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553
รู้จักกับบริษัทจัดหางาน
คำว่า “ บริษัทจัดหางาน ” หลาย ๆ คนอาจไม่รู้จัก แต่คนหางานอีกหลาย ๆ ท่าน อาจคุ้นเคยกับชื่อนี้บ้าง โดยเฉพาะคนที่ฝากประวัติไว้กับเว็บไซต์รับฝากประวัติต่าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น Jobthai, JobDB, JobBKK, Jobpassport และเว็บไซต์อื่น ๆ อีกหลายเว็บไซต์
ตัวผมเองในฐานะที่ทำงานอยู่ในวงการจัดหางานมานาน จึงอยากนำเสนอความรู้เกี่ยวกับบริษัทจัดหางานให้คนหางานได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
บริษัทจัดหางาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “ Recruitment Company ” ซึ่งในวงการจัดหางานบ้านเราก็มีมากมายหลายบริษัท โดยเราจะทำหน้าที่สรรหาพนักงานให้กับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าบริษัทลูกค้า และพนักงานที่เราสรรหามานั้นเรียกว่า แคนดิเดต (Candidate)
โดยบริษัทจัดหางาน จะเสาะแสวงหาแคนดิเดตจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทลูกค้ากำหนดมา โดยในเบื้องต้นจะดูจากประวัติย่อ หรือที่เรียกว่า Resume ที่ฝากไว้ตามเว็บไซต์รับฝากประวัติดังที่กล่าวมาแล้ว โดยพิจารณาจากหลาย ๆ อย่างประกอบกัน ทั้งประวัติส่วนตัว การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน
เมื่อคิดว่าเจอแคนดิเดตที่ใช่แล้ว จากนั้นจึงลงมือกดโทรศัพท์เพื่อเสนองาน เมื่อพูดคุยรายละเอียดงานและเสนองาน ถ้าแคนดิเดตคนนั้นสนใจในเนื้อหางานที่ตรงกับความต้องการของตนเอง รวมทั้งข้อเสนอเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการที่ตนจะได้รับ จากนั้นขั้นตอนต่อมาจึงเป็นการเชิญแคนดิเดตเข้ามาสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ ณ สำนักงานของบริษัทจัดหางาน เพื่อคุยในรายละเอียดที่มากขึ้น ทั้งประสบการณ์ของแคนดิเดต รายละเอียดงานที่จะเสนอ รวมทั้งรายได้และสวัสดิการที่แคนดิเดตจะได้รับ และที่สำคัญเพื่อดูบุคลิกของแคนดิเดตด้วย บริษัทจัดหางานหลาย ๆ แห่งจะถือโอกาสนี้ทำการทดสอบภาษาอังกฤษ หรือทดสอบทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าแคนดิเดตมีศักยภาพเหมาะสมกับตำแหน่งงานของบริษัทลูกค้า
จากนั้นจึงสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับแคนดิเดตที่คิดว่ามีศักยภาพแล้วส่งให้บริษัทลูกค้าพิจารณา ถ้าบริษัทลูกค้าสนใจที่จะสัมภาษณ์แคนดิเดตคนนั้น บริษัทจัดหางานจึงนัดหมายแคนดิเดตเพื่อเข้าสัมภาษณ์กับบริษัทลูกค้า ณ สำนักงานของบริษัทลูกค้าเพื่อพูดคุยงาน ถ้าหากบริษัทลูกค้าสนใจอยากให้แคนดิเดตคนนั้นมาร่วมงาน และแคนดิเดตก็สนใจร่วมงานด้วย การต่อรองเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการจึงเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่บริษัทจัดหางานจะช่วยแคนดิเดตต่อรองเงินเดือนด้วย ต่อจากนั้นการเซ็นต์สัญญาและนัดหมายวันเริ่มงานจะเป็นขั้นตอนต่อมาครับ ซึ่งสถานะภาพการจ้างงานระหว่างบริษัทลูกค้ากับแคนดิเดตก็มีทั้งเป็นพนักงานประจำของบริษัทลูกค้าโดยตรงหรือเป็นพนักงานสัญญาจ้าง (Subcontract) ซึ่งจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนในสัญญาจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เป็นอย่างไรบ้างครับ บทความนี้พอจะทำให้มองเห็นการทำงานของบริษัทจัดหางานบ้างแล้ว ถ้าหากท่านได้รับโทรศัพท์เสนองานท่านมีสิทธิ์ที่จะสอบถามได้ว่างานที่จะให้ทำเป็นอย่างไร Scope งานมากน้อยแค่ไหน ทำงานที่ไหน สัญญาจ้างเป็นพนักงานหรือเป็น Subcontract ที่สำคัญเรื่องรายได้และสวัสดิการ ถามได้ครับ แต่ต้องถามให้เป็น จะเขียนประวัติอย่างไรจึงมีคนโทรเสนองาน จะนำเสอในโอกาสต่อไป ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)